วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อัลเซเชี่ยน







หากดูตามสายพันธุ์ อัลเซเชี่ยน หรือ เยอรมันเช็พเพอด ถือเป็นสุนัขที่ได้ชื่อว่าดุพอสมควร มีเขี้ยวเล็บแหลมคม แข็งแรงแต่ก็ว่องไว เห่าเสียงดัง ขู่ก็น่ากลัว แต่ด้วยความฉลาด เรียนรู้เร็ว เชื่อฟังคำสั่งทำให้ อัลเซเชี่ยนกลายเป็นพันธุ์ยอดนิยมที่สุดพันธุ์หนึ่ง

ทว่า หากพูดถึงเรื่องของภาพลักษณ์แล้ว อัลเซเชี่ยนดูจะดีกว่าสุนัขดุพันธุ์อื่นอยู่มาก รวมทั้งข่าวคราวในเรื่องเสียหายก็ไม่ค่อยมี ดังนั้น ในวงการบันเทิงบทของ อัลเซเชี่ยน จึงเป็นสุนัขฉลาดแสนรู้ ซื่อสัตย์ ขนาดเป็นพระเอกก็ยังมี แถมยังมีฉากช่วยชีวิตคนอยู่บ่อยๆ(ในชีวิตจริงก็มีบ่อยๆเหมือนกัน)

อัลเซเชี่ยนมีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมัน วีรกรรมสุดยอดของมันคือการที่ผู้คนนับพันนับหมื่นที่ต้องอยู่ในโลกมืด(ตาบอด) ได้อาศัยเจ้าเยอรมันเช็พเพอดนี่แหละที่คอยเป็นพี่เลี้ยงนำทางไหนต่อไหนได้ พิทักษ์สันติราษฎร์ในเยอรมันนี แคนาดา ตามตรอกซอกซอยของบัลติมอร์ หรือในสวนสาธารณะของไฮด์ปาร์คที่มืดสลัว ไปด้วยม่านหมอกในใจกลางกรุงลอนดอน ย่อมรู้ดีว่าเขาเป็นเพื่อนร่วมงานรักษากฎหมาย ที่ไม่ย่นระย่ออย่างใดทั้งสิ้น เขาทำหน้าที่เฝ้าเหมืองเพชรในคิมเบอร์ลี่ย์ก็ได้ เฝ้าโรงเรียนในนิวยอร์คก็ได้
หรือให้เฝ้าฐานทัพอากาศที่ทริโปลีก็ได้ ไม่มีใครสามารถคำนวณได้ว่าสุนัขพันธุ์เยอรมันเช็พเพอด ได้ช่วยชีวิตคนไว้เท่าไรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่สอง โดยที่การดมกลิ่นหาทหารบาดเจ็บบ้าง ถือสารและลำเลียงเวชภัณฑ์บ้าง คอยเตือนหน่วยลาดตระเวนในป่าต่อการถูกซุ่มโจมตีบ้าง

ตลอดจนการตรวจรักษาแนวชายฝั่งทะเลเพื่อกันการก่อวินาศกรรม และค้นหาชาวบ้านที่ถูกซากปรักหักพังทับถมอยู่เนื่องจากการถูกระเบิดทางอากาศ ในยามไม่มีศึกสงคราม มันก็ทำงานเป็นการกุศล

เนื่องจากจมูกที่ไวสามารถนำคนค้นหาพวกที่ถูกหิมะถล่ม ฝังเอาไว้ในเทือกเขาแอลป์ของสวิส ในปัจจุบันสุนัขพันธุ์นี้มีรูปร่างที่สวยงาม เฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง เป็นผลมาจากการผสมของสุนัขต้อนแกะหลายชนิดมานับศตวรรษ ซึ่งรวมเอาสุนัขที่มีขนาดย่อมแต่ว่องไวของท้องทุ่งเยอรมันภาคเหนือ กับสุนัขที่โตล่ำสันกว่าของภูมิภาคที่เป็นขุนเขาทางใต้เอาไว้ด้วย

แม้จะสิ้นศตวรรษที่ 19 ยุคเลี้ยงแกะของเยอรมันได้สิ้นสุดลง แต่อย่างไรก็ตามนักเพาะพันธุ์สุนัขไม่กี่คนก็ยังพยายามสงวนพันธุ์อันมีคุณสมบัติอันวิเศษในการเลี้ยงแกะเอาไว้ ซึ่งนับว่าควรแก่การยกย่องมากที่สุดได้แก่ ร้อยเอกทหารม้าผู้หนึ่งชื่อ มาร์กฟอนสเตฟานิตช์ ซึ่งได้ลงเรี่ยวลงแรงแข็งขัน เพื่อที่จะทำให้สุนัขพันธุ์นี้เข้ามาตรฐาน

โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1889 และได้เจริญเติบโตเรื่อยมาจนมาเป็นสโมสรสุนัขที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยการเพาะพันธุ์สุนัขอย่างเดียว จากความพยายามของร้อยเอกฟอนสเตฟานนิตช์กับพรรคพวก ที่ได้พยายามเสาะหาสุนัขที่ใช้งานได้ดีและฉลาด และแล้วผลที่ได้ก็น่าภาคภูมิใจ ที่เมื่อมองสุนัขพันธุ์นี้ขณะที่มันปฏิบัติตามคำสั่งของนายโดยไม่ผิดพลาด

ลักษณะโดยทั่วไป สิ่งที่ประทับใจของผู้ที่ได้พบเห็นเยอรมันเช็พเพอดที่ดีคือ ความแข็งแรงว่องไว เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อตื่นตัวและมีชีวิตชีวา มองโดยรวมแล้วจะกลมกลืนและได้สัดส่วนกันระหว่างส่วนหน้าและส่วนท้าย ตัวจะยาวกว่าส่วนสูง ลำตัวลึก เส้นรอบตัวจะเป็นเส้นโค้งที่กลมกลืนแทนที่จะเป็นเหลี่ยมมุม มีขนาดค่อนข้างใหญ่และอ่อนแอ ให้ความรู้สึกไม่ว่าจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวถึงความกระชับของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนที่อย่างนุ่มนวล

นิสัยของเยอรมันเช็พเพอดมีบุคลิกที่เด่นชัดคือ มีการแสดงออกถึงความไม่หวาดหวั่นแต่ก็ไม่ก้าวร้าว มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความกระตือรือร้นและตื่นตัวกระฉับกระเฉง เต็มใจจะรับใช้เต็มที่ในลักษณะของการเป็นเพื่อน เป็นสุนัขเฝ้าบ้านนำทางผู้ที่อยู่ในโลกมืด เป็นสุนัขต้อนฝูงสัตว์ หรือทำหน้าที่อารักขา สุนัขจะไม่ขี้ขลาดหรือหลบอยู่หลังผู้เป็นเจ้านาย ไม่ควรจะอ่อนไหว ไม่มองไปรอบๆ หรือแหงนหน้ามอง ไม่แสดงอาการตื่นตระหนก โดยจะหางตกเมื่อได้ยินเสียงหรือมองเห็นสิ่งแปลกๆ หากสันขมีอุปนิสัยดังกล่าวข้างต้นจะถูกตัดสินว่ามีความบกพร่องอย่างร้ายแรง สุนัขจะต้องยอมให้กรรมการตรวจฟันและลูกอัณฑะ

ถ้าหากสุนัขกัดกรรมการจะต้องถูกไล่ออกจากสนามประกวด สุนัขที่อยู่ในอุดมคติควรที่จะสามารถใช้งานในลักษณะที่ไม่หยิบโหย่ง ผสมผสานกับลำตัวและการก้าวย่างที่เหมาะกับงานการที่ทำ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น